วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์กับศิลปวัฒนธรรมไทย



  ความหมาย
ประวัติศาสตร์ ความหมายตามพจนานุกรมหมายถึง วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ประวัติศาสตร์(History)ความเป็นมาของเหตุการณ์และเรื่องราวสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกจากอดีตมาจนปัจจุบัน ซึ่งนักปราชญ์ได้ช่วยกันค้นคว้าและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เนื้อหาของประวัติศาสตร์จึงประกอบด้วยเรื่องราวของมนุษย์ของชาติ และวิทยาการแขนงต่างๆที่มนุษย์ค้นคิดขึ้นมาได้
ศิลปะ ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึงฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น โดยเฉพาะหมายถึง วิจิตรศิลป์
ศิลปะ(Art)มาจากคำว่า ''สิปปะ'' ในภาษาบาลี เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก โดยสรุปแล้วหมายถึง''สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเป็นความงามเพื่อความพอใจ''
วัฒนะรรม(Culture)ความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ วิถีชีวิตของหม่คณะ ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรมพุทธศักราช 2485หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน ทางวิทยาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่คณะผลิตขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
''วัฒนธรรม''เป็นคำสมาสคือการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน ได้แก่ ''วัฒนะ'' หมายถึง เจริญงอกงาม รุ่งเรือง ''ธรรม'' ในที่นี้หมายถึง กฏ ระเบียบ หรือข้อปฎิบัติ เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงคำว่า''วัฒนธรรม'' จึงหมายถึงความเป็นระเบียบความมีวินัย เมื่อพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า''เป็นคนมีวัฒนธรรม''จึงหมายความว่า เป็นคนมีระเบียบวินัย
ประวัติสตร์กับศิลปวัฒนธรรมไทย
ประวัติสตร์กับศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาเพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อย่างเห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย นับแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน
การสร้างสรรค์งานศิลปกรรมของมนุษย์ชาติ ซึ่งเป็นผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยกำลังกาย สติปัญญา จินตนาการ และวัสดุต่างๆ ตามความเหมาะสม อันเป็นการสะท้อนภาวะสังคมในยุคที่มนุษย์มีส่วนร่วมอยู่ตั้งแต่โบราณจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงในแบบอย่าง และวิธีการสร้างสรรค์ ศิลปกรรมอันเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญทางสติปัญญาของมนุษย์ และเหตุแวดล้อมอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ รู้จ้กศิลปกรรมที่เด่นๆแล้วนำไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่จะสร้างสรรค์ศิลปกรรมขึ้นใหม่ได้

ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
ศิลปะไทย เป็นศิลปะประจำชาติของชาวไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยอดีตกาลได้เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลและสมัยนิยมของแต่ละยุค เช่น อิทธิพลของอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับพุทธศาสนา ดินแดนนี้นามว่า''สุวรรณภูมิ''เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์จนได้ชื่อว่า''เมืองทอง''ดังกล่าว จากหลักฐานการสร้างสรรค์ของมนุษย์ในดินแดนไทยแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย และยุคประวัติศาสตร์ชาติไทย
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานการศึกษาศิลปวัฒนธรรมได้แก่
1)ยุคหินเก่า ระยะประมาณห้าแสนปีถึงห้าหมื่นปี พบเครื่องมือหิน ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย น่าน และลพบุรี เครื่องมือหินที่พบได้แก่ ขวานหินกะเทาะจากก้อนหินอย่างหยาบๆ
2)ยุคหินกลาง ระยะเวลาประมาณหนึ่งหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินกะเทาะในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลพบุรี สระบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี เครื่องมือมีความประณีตงดงามมากขึ้นกว่าเดิม
3)ยุคหินใหม่ ระยะเวลาประมาณห้าหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยรวมกันเป็นหมู่บ้านบนหินใกล้แหล่งนำรู้จักทำขวานหินให้ประณีตงดงาม รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ เครื่องประกอบพิธีต่างๆ นักโบราณคดีบางท่านให้ความเห็นว่า มนุษย์ยุคหินใหม่ในประเทศไทย คือ บรรพบุรุษของคนไทยเราในปัจจุบัน เครื่องมือที่พบ ได้แก่ ปลายหอก กำไลทำด้วยหิน หม้อหุงข้าว ภาชนะใส่อาหารมีลวดลายเชือก ลายเสือ และลายจักสาน เป็นต้น
4)ยุคโลหะ ระยะเวลาประมาณแปดพันปีถึงสองพันปี พบเครื่องโลหะและเครื่องดินเผาที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณเจ็ดพันปีเศษ ที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ กลองโหระทึก อาวุธ เครื่องใช้ และเครื่องประดับพบภาพเขียนสีและภาพแกะสลักบนผนังถำ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคนี้ เช่น ถำเขาเขียวภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี และภาคใต้ที่พบจังหวัดพังงา เป็นต้น

ภาพเขียนและภาพแกะสลักบนผนังถำ(Cave Arts)ถือเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุด เป็นวัฒนธรรมการสร้างสรรค์อีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สีที่ใช้จะเป็นสีของดิน ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีดำ เขียนเป็นภาพสัตว์ ลายเรขาคณิต และภาพคน

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย แบ่งตามหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลป์ดังนี
1)ศิลปะรุ่นเก่า จากการเผยแผ่พระพุทะศาสนาจากอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ศิลปะและวัฒนธรรมทางศาสนามีผู้นำเข้ามา เช่น พระพุทธรูปขนาดเล็กหล่อด้วยสำริด เป็นศิลปะอมราวดี และพระพุทะศิลปะคุปตะของอินเดีย จึงเข้าใจได้ว่าเป็นตัวอย่างในการสร้างพระพุทธรูป (สันติ เล็กสุขุม 2544 :22)
2)ศิละปะทวารวดี พุทธศตวรรษ ที่ 11-16 บริเวณลุ่มแม่นำเจ้าพระยาจังหวัดที่พบศิลปวัตถุได้แก่ สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี ราชบุรี และนครปฐม ราชธานีของอาณาจักรทวารวดีไม่ทราบแน่ชัดแต่สันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อว่าน่าจะเป็นนครปฐม
 3)ศิลปศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-18 บริเวณหมู่เกาะชวา มาเลเซียและตอนใต้ของไทย ปัจจุบันคืออำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ยุคประวัติศาสตร์ชาติไทย แบ่งคร่าวๆเป็น 4 สมัย คือ ศิลปะสมัยเชียงแสน ศิลปะสมัยสุโขทัย ศิลปะสมัยอยุธยา และศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
1)ศิลปะสมัยเชียงแสน ศิลปวัตถุของสมัยเชียงแสนได้รับอิทธิพลจากอินเดียและลังกา มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่น สถาปัตยกรรม โบสถ์ และวิหาร ภาพปูนปั้นหอไตรวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
2)ศิลปะสมัยสุโขทัย เป็นศิลปะแบบสูงสุด พระพุทรรูปมีความอ่อนช้อยละมุนละไมตามอุดมคติอันดีงามของไทย เช่น พระรูปปางลีลา




4)ศิลปะสมัยลพบุรี บริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เมืองสำคัญคือละโว้หรือลพบุรี ศิลปวัตถุได้รับอิทธิพลจากขอม เช่น พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
3)ศิลปะสมัยอยุธยา พัฒนาเป็นเอกลักษณ์ของอยุธยาแท้ เช่น ประติมากรรมสลักไม้นูนสูง รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ลายรดนำตู้พระธรรม ที่มีชื่อเสียง คือ ''ลายรดนำฝีมือครูวัดเชิงหวาย'' พบที่วัดเชิงหวาย จังหวัดนนทบุรี

4)ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับอิทธิจากตะวันตก และในสมัยรัชกาลที่ 4-5 เริ่มนิยมศิลปกรรมยุโรปมาก ได้นำมาผสมกับแบบศิลปกรรมไทย เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวังกรุงเทพมหานคร


การกำเนิดวัฒนธรรม
''วัฒนธรรม''กำเนิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้
1.มนุษย์รู้จัก เนื่องจากมนุษย์มีสมองอันทรงคุณภาพพิเศษ มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
2.มนุษย์รูจักใช้สิ่งอื่นแทนมือตนเอง รูจักแสวงหาสิ่งต่างๆมาบำบัดความต้องการและพัฒนา
3.มนุษย์รู้จักพูดหรือการมีภาษา เกิดจากสมองอันทรงคุณภาพ ประกอบกับลักษณะโครงสร้างของอวัยวะต่างๆที่เหมาะสมกับการพูด การใช้ภาษา
สรุปได้ว่ามนุษย์รู้คิด รู้ใช้ และรู้พูดทั้ง 3 ประการนี้จึงเป็นที่มาของวัฒนธรรม

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
1.การทำบุญและการประกอบการกุศล  คนไทยโดยส่วนรวมแล้วมีความเชื่อเรื่อง ''กฎแห่งกรรม''จึงนิยมทำบุญและประกอบการกุศลต่างๆ



2.พิธีกรรม การปฏิบัติวัฒนธรรมโดยทั่วไปของสังคมไทยมักแสดงออกในรูปงานพิธีหรือพิธีการต่างๆตั้งแต่เกิดจนตาย



3.ความสนุกสนาน จากเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยดังกล่าว ทำให้เกิดศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่บูรณาการศิลปะสาขาต่างๆประกอบเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี